เมนู

นามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการอันประกอบด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเสด็จไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะ ๆ เธอ
อย่าประมาทตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรม
เอกผุดขึ้นในตติยฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในตติยฌาน สมัยต่อมาเรามี
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป เข้า
ตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใด
ว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคล
เมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์
แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่.
จบ สุขปัญหาสูตรที่ 3

4. อุเปกขาปัญหาสูตร



ว่าด้วยปัญหาเรื่องฌานที่ 4



[ 518 ] ที่เรียกว่า จตุตถฌาน ๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ.
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานนัยนี้ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มี
อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่ นี้เรียกว่าจตุตถฌาน เราก็เข้าจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการอันประกอบด้วยสุขย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะ ๆ เธออย่า
ประมาทจตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรม
เอกผุดขึ้นในจตุตถฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในจตุตถฌาน สมัยต่อมาเราเข้า
จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัส
ก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์
แล้วถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่.
จบ อุเบกขาปัญหาสูตรที่ 4

5. อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตร



ว่าด้วยปัญหาเรื่องอรูปฌานที่ 1



[ 519 ] ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน ๆ ดังนี้ อากาสานัญ-
จายตนฌานเป็นไฉนหนอ. เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะ
ล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจ
ซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน
เราก็เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะ
ล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจ